วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การทำสุ่มไก่






ขั้นตอนการทำสุ่มไก่





ไผ่ตะเกียบ
ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบที่นำมาจักสานสุ่มไก่มี อายุประมาณ 5 ปี
แหล่งที่มาเก็บหาภายในหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่รับซื้อ จากหมู่บ้านอื่น ราคาลำละ 4 บาทแต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม.
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว
2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน
3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป
วิธีการจักสาน
1. การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)
ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม.
ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
2. การสานสุ่มไก่
2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยน
ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป


1.การจักตอกทำสุ่มไก่


2.การสานลายขัดหัวสุ่มไก่

 

3.การสานขึ้นหัวสุ่มไก่
 

4.การสานขึ้นรูปแบบลายหนึ่งรอบ ๆ สุ่มไก่

 

5.การสานตีนสุ่มไก่(คนในสุ่มไก่กำลังถอนข้อไผ่ตะขอหลักหมุดเมื่อสานสุ่มไก่เสร็จแล้ว)


 

6.การเลื่อยตัดปลายตอกยืนตีนสุ่มไก่ที่ยื่นยาวทิ้งไป



7.สุ่มไก่ที่แล้วเสร็จ

หมวกใบตาล








ขั้นตอนและเทคโนโลยีการผลิตหมวกใบตาลบ้าน

วัสดุอุปกรณ์
            1.  ใบตาล
            2.  แม่พิมพ์
            3.  มีด
            4.  สีย้อมผ้า
            5.  ไม้ไผ่
            6.  เข็ม
            7.  ด้าย



ขั้นตอนในการทำ





1. ตัดไม้ไผ่เป็นท่อนยาวประมาณ 90 เซนติเมตร




  
  2. เหลาไม้ไผ่ให้เป็นเส้นเล็กๆ บางๆ






3.จากนั้นก็นำเอาไม้ไผ่เส้นเล็กๆบางๆ มาสานถักเป็นจอมไว้ 






 4. หลังจากนั้นก็นำเอาที่ทำเป็นจอมเสร็จแล้ว  ที่ทำเสร็จแล้วมาก่อให้เป็นจอม   มาประกบกับแม่พิมพ์แล้วสานให้เป็นรูปหมวก




  


5.จากนั้นก็ถอดโครงหมวกออกจากแม่พิมพ์  






 6. ตัดใบตาลเป็นท่อนแล้วนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ





 7.นำใบตาลที่ย้อมสีแล้วมาสานเข้ากับโครงที่ทำไว้ โดยใช้เข็มกับด้ายเย็บเข้าติดกันกับโครง



  

8.ถ้าต้องการสวยงามก็นำไปทาด้วยแล็กเกอร์


มวยสาน





 



มวยอุปกรณ์ในการสาน






การตัดไม้ไม้ไผ่ 1 ลำใช้ประโยชน์ได้ 4 ช่วง
1.1 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อจักตอกสานทีละปล้องยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร
1.2 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้เพื่อจักตอกเสียบหรือตอกยั่งที่ละปล้องยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
1.3 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อทำขอบมวยตัดทำขอบบนประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างยาวประมาณเกือบ 2 ปล้องหรือประมาณ 50-60 เซนติเมตร
1.4 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่ปล้องที่ยาวที่สุดสำหรับจักตอกสานชั้นที่สาม
2. มีดใช้มีดอีโต้ลับให้คมเพื่อใช้ในการผ่าไม้ไผ่ให้เป็นแผ่นบางๆเพื่อจักตอกสานจักตอกเสียบและทำขอบมวย
3. หินลับมีดเตรียมมาเพื่อใช้ลับมีดเวลาที่จักตอกส่วนต่างๆเมื่อมีดลดความคมลงจะได้ลับมีดทันที
4. เลื่อยใช้เลื่อยลันดาเพื่อใช้ตัดไม้เป็นท่อนๆเพื่อที่จะนำมาจักตอกสานตอกเสียบหรือตอกยั้งตอกสานชั้นสามและทำขอบ
5. เชือกในล่อนเส้นใหญ่จะใช้ในการรัดตัวมวยชั้นที่สองให้แน่นก่อนที่จะเย็บขอบล่างของมวย
6. ด้าย 80 เบอร์ 9 ใช้เย็บขอบล่างและขอบมวยบนของมวยและเย็บก้นมวยโยงเป็นใยแมงมุมเพื่อรองรับฝาแตะบางครั้งจะใช้เชือกในล่อนเล็กเย็บขอบแต่ไม่ทนไฟจึงนิยมใช้ด้ายเย็บแทนเดิมใช้หวายแต่เนื่องจากราคาเเพงและหายากจึงเลิกใช้กัน
7. เข็มใช้เข็มขนาดใหญ่เพื่อใช้เย็บขอบล่างขอบบนของมวยและใช้เย็บก้นมวยเป็นใยเเมงมุม







อุปกรณ์ที่ใช้
  ขั้นตอนการสานมวย









1. การจักตอกสานชั้นในและชั้นที่สอง

เลือกไม้ส่วนที่เหลือจากการทำตอกเสียบหรือไม้ตรงกลางยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตรนำมาผ่าออกเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรปล้องหนึ่งผ่าเป็นซีกแล้วจะได้ประมาณ 15 -18 ซีกแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้มีความเรียวประมาณ 1 เซนติเมตร (ภาษาถิ่นเรียกว่าการส่วยไม้) แล้วใช้มีดอีโต้ที่คมจักตอกโดยผ่าเป็นผ่าเปิ้นให้เป็นเส้นบางๆไม้ไผ่ซีกหนึ่งจะได้ตอกประมาณ 20-25 เส้นตอกที่ได้เรียกว่าตอกสานเมื่อจักตอกเสร็จจะนำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว



การเหลาไม้ไผ่




 
ลักษณะการเหลาไม้ไผ่


2. การจักตอกเสียบหรือตอกยั้ง

นำไม้ไผ่ที่ตัดไว้ซึ่งเป็นไม้ไผ่จากโคนต้นมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตรแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้เรียวประมาณ 0.5 เซนติเมตร (ทำเหมือนการส่วยไม้ทำตอกสานแต่จะเล็กกว่า) จักแล้วให้บางตามลายเปิ้นเรียกว่าตอกเสียบตอกยั้งเมื่อจักตอกเสร็จแล้วก็นำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว






การทำตอกสาน


3. การจักตอกสานชั้นสามตัดไม้ไผ่ส่วนต่อจากตอกสานและใช้ปล้องที่ยาวที่สุดตัดส่วนข้อออกและผ่าเป็นซีกหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตรและจักตอกตะเเคงทำเป็นเส้นบางๆเล็กๆจะนำมาสานกับตอกเสียบหลังจากจักตอกเสร็จแล้วให้นำไปผึ่งแดด


  



4. ไม้ทำขอบนำไม้ไผ่ส่วนปลายที่ตักเป็นท่อนๆท่อนละประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับทำขอบบนยาวประมาณ 50 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างนำมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรนำมาเหลาให้เรียบแล้วผ่าจักออกเป็นสองข้างเหลาให้บางกว่าส่วนอื่นเผือเวลานำมาประกอบเป็นวงกลมจะทำให้ไม่หนากว่าส่วนอื่น



การเริ่มต้นสานมวย





5. การจักตอกสานฝาแตะนำไม่ไผ่ที่ตัดไว้แล้วยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตรนำมาผ่าเป็นเปิ้นซีกหนายาวประมาณ 0.5 เซนติเมตรจักตะแคงเป็นเส้นเล็กๆเหมือนกับจักตอกสานชั้นที่สามหรือจะใช้ตอกสานชั้นที่สามมาสานเลยก็ได้เพราะวิธีการจักเเบบเดียวกัน








6. การสานมวยชั้นในและชั้นที่สองนำตอกสานที่เตรียมไว้แล้วมาสานเป็นลายสองเวียนในการสานจะเริ่มที่ขอบล่างก่อน (ก้นมวย) และสานเวียนไปเรื่อยๆชั้นที่หนึ่งจะใช้ตอกประมาณ 45 คู่แล้วนำมาประกอบกันเป็นวงกลมซึ่งเป็นรูปร่างก้นมวยเมื่อประกบเรียบร้อยแล้วก็สานต่อด้วยลายสองเหมือนเดิมจนเสร็จเป็นตัวมวยขั้นตอนนี้จะสานสองครั้งเมื่อเสร็จเเล้วให้นำมวยมาซ้อนกันจะเป็นมวยชั้นที่สองแล้วใช้เชือกในล่อนมารัดส่วนบนและส่วนล่างให้แน่นเพื่อให้ได้รูปทรงของมวยตามที่ต้องการหลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จเเล้วให้นำมวยไปผึ่งเเดดประมาณ 2 แดด (2 วัน)






7. การเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) ก่อนที่จะเข้าขอบล่างให้ใช้เชือกในล่อนรัดขอบบนให้แน่นก่อนแล้วใส่ขอบบนไว้แต่ยังไม่เย็บให้โค้งขอบเป็นวงกลมไว้เฉยๆแล้วใช้เชือกรัดมาที่ขอบล่างให้แน่นแล้วเข้าขอบล่างวิธีการเข้าขอบล่างคือการนำไม้ที่เตรียมไว้แล้วมาใส่โดยการแยกไม้ที่ผ่าไว้มาวางทาบที่ขอบด้านนอกก่อนโดยใช้ติวไม้และทำให้เป็นวงกลมไปตามขอบมวยส่วนไม้ที่เหลือให้วงทาบที่ขอบมวยด้านในแล้วใช้ด้ายเย็บให้แน่นห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรเย็บให้รอบขอบล่าง





8. ในการสานชั้นที่สามนี้จะเริ่มสานจากขอบล่างประมาณ 10-12 เซนติเมตรสานตอกเริ่มทีละเส้นถ้าเส้นที่หนึ่งหมดให้เริ่มสานเส้นที่สองโดยสานกลับไปเส้นละด้านถ้าไม่ถึงขอบปากอีกให้ต่อเส้นสานไปจนถึงขอบปากมวยจึงถือว่าทำเสร็จขั้นตอนนี้






9. การเข้าขอบบน (ปากมวย) เมื่อสานมวยชั้นที่สามเสร็จแล้วนำมวยมาตัดขอบปากมวยให้เสมอกันหลังจากนั้นใช้ขอบมวยที่สานไว้แล้วมาวางทาบที่ขอบบนจะทำแบบเดียวกันกับวิธีเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) เสร็จแล้วเย็บขอบบนให้ห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรจนรอบขอบบน






10. การเย็บก้นหวดสำหรับรองฝาแตะใช้วิธีการเย็บแบบโยงไปมาตรงข้ามกันหรือเรียกว่าเย็บแบบโยงใยแมงมุมเมื่อทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วก็จะได้มวยที่สมบูรณ์แบบประโยชน์ของมวย
                                      
11. การแตะสานฝา (ที่รองข้าวเหนียวเวลานึ่ง)
นำตอกที่เตรียมไว้มาสานด้วยลายสองให้ได้แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตรใช้ภาชนะกลมๆเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 - 16 เซนติเมตรมาวางทาบลงแล้วใช้สีลาดตามขอบภาชนะแล้วนำมาตัดตามรอยเป็นรูปวงกลมใช้ผ้ายืดสีขาวที่ตัดเป็นผ้าเฉลียงนำมาต่อกันยาวๆมาหุ้มตามริมฝาแตะที่ตัดเป็นวงกลมเย็บให้ติดกันจนรอบถ้าไม่เย็บมือจะใช้จักรเย็บก็ได้


เสร็จเรียบร้อย
         
                  ผลผลิตจากการสานมวยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างจากการออกแบบและปรับปรุงขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของตลาดดังนี้
1. เป็นภาชนะใช้นึ่งหรือประกอบอาหารให้สุกด้วยไอน้ำเช่นนึ่งข้าวนึ่งปลานึ่งไก่นึ่งเห็ดนึ่งหอยนึ่งขนม
2. เป็นภาชนะใช้ตุ๋นเช่นตุ๋นไข่ตุ๋นเนื้อตุ๋นเป็ดตุ๋นไก่
3. เป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องอาคารทั้งภายในและภายนอกเช่นแจกันโมบายกระถางต้นไม้กระถางดอกไม้
4. ใช้ในงานเกษตรโดยนำมวยที่ใช้แล้วเป็นภาชนะใส่ดินสำหรับปลุกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
5. ใช้เป็นถังขยะ (ขยะแห้ง) 6. ใช้เป็นของชำรวยของที่ระลึกเช่นมวยเล็กกล่องกระดาษจี้ประดับกล่องน่ารักโคมไฟ
7. ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกแบบปรับปรุงและพัฒนาการสานมวยให้ดียิ่งขึ้น
8. ส่งผลให้นักเรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่หาง่ายราคาถูกซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
ขายราคา
1. ที่แหล่งผลิตโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางชนิดอย่างดีตอกละเอียดราคาใบละ 30 บาทชนิดธรรมดาตอกหยาบราคาใบละ 19 บาท
2. จากแหล่งผลิตไปถึงผู้ซื้อโดยผ่านพ่อค้าคนกลางชนิดอย่างดีประมาณใบละ 50 บาทขึ้นไปชนิดธรรมดาประมาณใบละ 35-40 บาทขึ้นไป
ศัพท์เกี่ยวกับการสานมวย
   มวยหมายถึงเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่มีรูปร่างลักษณะทรงกระบอกส่วนล่างจะแคบสำหรับสวมลงหม้อซึ่งบางท้องถิ่นอาจเรียกแต่ "ว่า" หวดความจริงแล้วหวดจะมีรูปร่างแตกต่างจากมวยคือ
จะเหมือนรูปกรวยแต่ส่วนล่างจะปิดไม่เป็นรูปทรงกระบอกเหมือนมวยการใช้ประโยชน์ในการนึ่งมวยจะใช้ปริมาณได้มากกว่าและแข็งแรงทนทานกว่าเพราะมีความหนาจากการสานถึง 3 ชั้น
ไม้ไผ่บ้านหมายถึงไม้ไผ่สีสุกลำต้นมีขนาดใหญ่และตรงเป็นไม้ไผ่ที่เรานำมาใช้ในการสานมวย
ตัดหมายถึงการใช้มีดหรือเลื่อยแบ่งไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆตามลายขวาง
ผ่าหมายถึงการใช้มีดที่มีความคมกดลงบนหน้าตัดไม้ไผ่จากด้านโคนไปหาปลาย
จักหมายถึงการใช้คมมีดแบ่งส่วนไม้ไผ่ออกเป็นเส้นบางๆ
เหลาหมายถึงการนำเส้นตอกที่จักแล้วมาเหลาให้ละเอียด
ตอกหมายถึงไม้เส้นบางๆที่ได้จากการจัก
ตอกยั้งหมายถึงตอกที่วางในแนวดิ่งเมื่อทำการสาน
ตอกปื้นหมายถึงตอกที่ถูกจักทางแบนขนานไปกับหลังติวไม้
ส่วยหมายถึงการเหลาตอกให้มีความกว้างเล็กลงเรื่อยๆ
มีดอีโต้หมายถึงมีดที่มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับตักไม้หรือเจียนไม้การผ่าการจักและเหลาตอก
มีดตอกหมายถึงมีดที่มีลักษณะเป็นรูปเรียวปลายแหลมด้ามมีลักษณะกลมยาวประมาณ 14 นิ้วงอไปตามข้อศอกใช้สำหรับคว้านท่อนไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วหรือใช้สำหรับการเหลาตอกนั่นเอง
หินลับมีดหมายถึงหินที่ใช้สำหรับลับมีดให้มีความคมเมื่อเวลาตัดผ่าจักและเหลาตอกจะได้ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป
เชือกหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดตัวมวยหลังจากไป่ตอกเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อให้เส้นตอกมีความกระชับแน่น
ผ้าด้ายดิบหมายถึงผ้าที่ใช้สำหรับตัดทำขอบฝาแตะแล้วเย็บด้วยด้ายเย็บเพื่อกันตอกของฝาแตะหลุดหรือดีดตัวออกมา
ด้ายเส้นเล็กหมายถึงด้ายดิบที่ทนความร้อนของไอน้ำและจะไม่หดใช้สำหรับเย็บขอบมวยฝาแตะไม่ให้หลุดออก
เข็มเย็บหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เย็บขอบมวยทั้งขอบบนและล่างและฝาขัดแตะ
ผ้าพันนิ้วมือหมายถึงเศษผ้าหนาๆความยาวประมาณ 4 - 6 นิ้วใช้สำหรับพันนิ้วมือเวลาจักตอกและเหลาตอกเพื่อป้องกันอันตรายจากมีดและคมไม้ไผ่
การสานลายหมายถึงการสานประกบทั้งสองด้านเข้าหากันโดยให้สานตอกที่เหลือ
กระทุนเกียวนหมายถึงข้างละ 4 เส้นติดกันต่อเนื่องจากลายสองเวียนที่สานมาแล้วให้ถูกต้อง
ตอกยืนหมายถึงตอกยั้งไป่ตอกหมายถึงการสานตอกเส้นบนตอกเส้นล่างทับกัน

ติบข้าว








เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.       ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ  ไม่ติดมือ
2.       พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง


วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน                           2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่       4.   กรรไกร
5. มีดโต้                                  6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)  8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก                    10. เครื่องกรอด้าย


   ขั้นตอนการสานกระติบข้าว


           1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน

การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน



  2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

 3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ


เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ เซนติเมตรเมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน





การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย




               4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืน” การขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก เส้นแล้วทิ้ง เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
               5. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
                6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
                 7. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก                   ข้อเสนอแนะ
1. การเลือกไม่ไผ่ควรเลือกไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง ปี
2. การจักตอกต้องมีความกว้าง ความยาวเท่าๆ กัน ทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปร่างสวยงาม
3. ก่อนที่จะเหลาหรือขูดเส้นตอก ให้นำเส้นที่จักแล้วแช่น้ำประมาณ ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่มเพื่อจะได้ขูดเหลาได้ง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน
4. การสานเป็นลวดลายต่างๆ ที่น่าสนใจจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาดีขึ้น
5. สามารถประยุกต์เป็นของชำร่วยแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
6. การใช้สีย้อมไหมมาย้อมเส้นตอกจะทำให้ลวดลายสีสันสวยงามขึ้น
7. การตกแต่งฝาบนด้วยการทำคิ้วจะทำให้มีความสวยงามและคงทน

นี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเพียงหัตถกรรมพื้นบ้านธรรมดาเช่นนี้ กลับกลายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้กับชุมชน อนาคตงานจักสานจะดำเนินไปในทิศทางใด ก็ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้

         ข้อมุลเพิ่มเติม
        ในกรณีต้องการเก็บอุณหภูมิให้นานยิ่งขึ้นมีการดัดแปลงใช้กระดาษฟอยด์เสริมระหว่างชั้นตามรูป