วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

มวยสาน





 



มวยอุปกรณ์ในการสาน






การตัดไม้ไม้ไผ่ 1 ลำใช้ประโยชน์ได้ 4 ช่วง
1.1 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อจักตอกสานทีละปล้องยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตร
1.2 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้เพื่อจักตอกเสียบหรือตอกยั่งที่ละปล้องยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
1.3 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่เพื่อทำขอบมวยตัดทำขอบบนประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างยาวประมาณเกือบ 2 ปล้องหรือประมาณ 50-60 เซนติเมตร
1.4 - ใช้เลื่อยลันดาตัดไม้ไผ่ปล้องที่ยาวที่สุดสำหรับจักตอกสานชั้นที่สาม
2. มีดใช้มีดอีโต้ลับให้คมเพื่อใช้ในการผ่าไม้ไผ่ให้เป็นแผ่นบางๆเพื่อจักตอกสานจักตอกเสียบและทำขอบมวย
3. หินลับมีดเตรียมมาเพื่อใช้ลับมีดเวลาที่จักตอกส่วนต่างๆเมื่อมีดลดความคมลงจะได้ลับมีดทันที
4. เลื่อยใช้เลื่อยลันดาเพื่อใช้ตัดไม้เป็นท่อนๆเพื่อที่จะนำมาจักตอกสานตอกเสียบหรือตอกยั้งตอกสานชั้นสามและทำขอบ
5. เชือกในล่อนเส้นใหญ่จะใช้ในการรัดตัวมวยชั้นที่สองให้แน่นก่อนที่จะเย็บขอบล่างของมวย
6. ด้าย 80 เบอร์ 9 ใช้เย็บขอบล่างและขอบมวยบนของมวยและเย็บก้นมวยโยงเป็นใยแมงมุมเพื่อรองรับฝาแตะบางครั้งจะใช้เชือกในล่อนเล็กเย็บขอบแต่ไม่ทนไฟจึงนิยมใช้ด้ายเย็บแทนเดิมใช้หวายแต่เนื่องจากราคาเเพงและหายากจึงเลิกใช้กัน
7. เข็มใช้เข็มขนาดใหญ่เพื่อใช้เย็บขอบล่างขอบบนของมวยและใช้เย็บก้นมวยเป็นใยเเมงมุม







อุปกรณ์ที่ใช้
  ขั้นตอนการสานมวย









1. การจักตอกสานชั้นในและชั้นที่สอง

เลือกไม้ส่วนที่เหลือจากการทำตอกเสียบหรือไม้ตรงกลางยาวประมาณ 30-35 เซนติเมตรนำมาผ่าออกเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรปล้องหนึ่งผ่าเป็นซีกแล้วจะได้ประมาณ 15 -18 ซีกแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้มีความเรียวประมาณ 1 เซนติเมตร (ภาษาถิ่นเรียกว่าการส่วยไม้) แล้วใช้มีดอีโต้ที่คมจักตอกโดยผ่าเป็นผ่าเปิ้นให้เป็นเส้นบางๆไม้ไผ่ซีกหนึ่งจะได้ตอกประมาณ 20-25 เส้นตอกที่ได้เรียกว่าตอกสานเมื่อจักตอกเสร็จจะนำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว



การเหลาไม้ไผ่




 
ลักษณะการเหลาไม้ไผ่


2. การจักตอกเสียบหรือตอกยั้ง

นำไม้ไผ่ที่ตัดไว้ซึ่งเป็นไม้ไผ่จากโคนต้นมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตรแล้วเหลาปลายข้างหนึ่งให้เรียวประมาณ 0.5 เซนติเมตร (ทำเหมือนการส่วยไม้ทำตอกสานแต่จะเล็กกว่า) จักแล้วให้บางตามลายเปิ้นเรียกว่าตอกเสียบตอกยั้งเมื่อจักตอกเสร็จแล้วก็นำตอกไปผึ่งแดดเพื่อให้ตอกอยู่ตัว






การทำตอกสาน


3. การจักตอกสานชั้นสามตัดไม้ไผ่ส่วนต่อจากตอกสานและใช้ปล้องที่ยาวที่สุดตัดส่วนข้อออกและผ่าเป็นซีกหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตรและจักตอกตะเเคงทำเป็นเส้นบางๆเล็กๆจะนำมาสานกับตอกเสียบหลังจากจักตอกเสร็จแล้วให้นำไปผึ่งแดด


  



4. ไม้ทำขอบนำไม้ไผ่ส่วนปลายที่ตักเป็นท่อนๆท่อนละประมาณ 3 ปล้องหรือประมาณ 100-110 เซนติเมตรสำหรับทำขอบบนยาวประมาณ 50 เซนติเมตรสำหรับขอบล่างนำมาผ่าเป็นซีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตรนำมาเหลาให้เรียบแล้วผ่าจักออกเป็นสองข้างเหลาให้บางกว่าส่วนอื่นเผือเวลานำมาประกอบเป็นวงกลมจะทำให้ไม่หนากว่าส่วนอื่น



การเริ่มต้นสานมวย





5. การจักตอกสานฝาแตะนำไม่ไผ่ที่ตัดไว้แล้วยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตรนำมาผ่าเป็นเปิ้นซีกหนายาวประมาณ 0.5 เซนติเมตรจักตะแคงเป็นเส้นเล็กๆเหมือนกับจักตอกสานชั้นที่สามหรือจะใช้ตอกสานชั้นที่สามมาสานเลยก็ได้เพราะวิธีการจักเเบบเดียวกัน








6. การสานมวยชั้นในและชั้นที่สองนำตอกสานที่เตรียมไว้แล้วมาสานเป็นลายสองเวียนในการสานจะเริ่มที่ขอบล่างก่อน (ก้นมวย) และสานเวียนไปเรื่อยๆชั้นที่หนึ่งจะใช้ตอกประมาณ 45 คู่แล้วนำมาประกอบกันเป็นวงกลมซึ่งเป็นรูปร่างก้นมวยเมื่อประกบเรียบร้อยแล้วก็สานต่อด้วยลายสองเหมือนเดิมจนเสร็จเป็นตัวมวยขั้นตอนนี้จะสานสองครั้งเมื่อเสร็จเเล้วให้นำมวยมาซ้อนกันจะเป็นมวยชั้นที่สองแล้วใช้เชือกในล่อนมารัดส่วนบนและส่วนล่างให้แน่นเพื่อให้ได้รูปทรงของมวยตามที่ต้องการหลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จเเล้วให้นำมวยไปผึ่งเเดดประมาณ 2 แดด (2 วัน)






7. การเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) ก่อนที่จะเข้าขอบล่างให้ใช้เชือกในล่อนรัดขอบบนให้แน่นก่อนแล้วใส่ขอบบนไว้แต่ยังไม่เย็บให้โค้งขอบเป็นวงกลมไว้เฉยๆแล้วใช้เชือกรัดมาที่ขอบล่างให้แน่นแล้วเข้าขอบล่างวิธีการเข้าขอบล่างคือการนำไม้ที่เตรียมไว้แล้วมาใส่โดยการแยกไม้ที่ผ่าไว้มาวางทาบที่ขอบด้านนอกก่อนโดยใช้ติวไม้และทำให้เป็นวงกลมไปตามขอบมวยส่วนไม้ที่เหลือให้วงทาบที่ขอบมวยด้านในแล้วใช้ด้ายเย็บให้แน่นห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรเย็บให้รอบขอบล่าง





8. ในการสานชั้นที่สามนี้จะเริ่มสานจากขอบล่างประมาณ 10-12 เซนติเมตรสานตอกเริ่มทีละเส้นถ้าเส้นที่หนึ่งหมดให้เริ่มสานเส้นที่สองโดยสานกลับไปเส้นละด้านถ้าไม่ถึงขอบปากอีกให้ต่อเส้นสานไปจนถึงขอบปากมวยจึงถือว่าทำเสร็จขั้นตอนนี้






9. การเข้าขอบบน (ปากมวย) เมื่อสานมวยชั้นที่สามเสร็จแล้วนำมวยมาตัดขอบปากมวยให้เสมอกันหลังจากนั้นใช้ขอบมวยที่สานไว้แล้วมาวางทาบที่ขอบบนจะทำแบบเดียวกันกับวิธีเข้าขอบล่าง (ก้นมวย) เสร็จแล้วเย็บขอบบนให้ห่างกันประมาณ 1.5 เซนติเมตรจนรอบขอบบน






10. การเย็บก้นหวดสำหรับรองฝาแตะใช้วิธีการเย็บแบบโยงไปมาตรงข้ามกันหรือเรียกว่าเย็บแบบโยงใยแมงมุมเมื่อทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วก็จะได้มวยที่สมบูรณ์แบบประโยชน์ของมวย
                                      
11. การแตะสานฝา (ที่รองข้าวเหนียวเวลานึ่ง)
นำตอกที่เตรียมไว้มาสานด้วยลายสองให้ได้แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตรใช้ภาชนะกลมๆเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 - 16 เซนติเมตรมาวางทาบลงแล้วใช้สีลาดตามขอบภาชนะแล้วนำมาตัดตามรอยเป็นรูปวงกลมใช้ผ้ายืดสีขาวที่ตัดเป็นผ้าเฉลียงนำมาต่อกันยาวๆมาหุ้มตามริมฝาแตะที่ตัดเป็นวงกลมเย็บให้ติดกันจนรอบถ้าไม่เย็บมือจะใช้จักรเย็บก็ได้


เสร็จเรียบร้อย
         
                  ผลผลิตจากการสานมวยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างจากการออกแบบและปรับปรุงขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของตลาดดังนี้
1. เป็นภาชนะใช้นึ่งหรือประกอบอาหารให้สุกด้วยไอน้ำเช่นนึ่งข้าวนึ่งปลานึ่งไก่นึ่งเห็ดนึ่งหอยนึ่งขนม
2. เป็นภาชนะใช้ตุ๋นเช่นตุ๋นไข่ตุ๋นเนื้อตุ๋นเป็ดตุ๋นไก่
3. เป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องอาคารทั้งภายในและภายนอกเช่นแจกันโมบายกระถางต้นไม้กระถางดอกไม้
4. ใช้ในงานเกษตรโดยนำมวยที่ใช้แล้วเป็นภาชนะใส่ดินสำหรับปลุกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
5. ใช้เป็นถังขยะ (ขยะแห้ง) 6. ใช้เป็นของชำรวยของที่ระลึกเช่นมวยเล็กกล่องกระดาษจี้ประดับกล่องน่ารักโคมไฟ
7. ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนออกแบบปรับปรุงและพัฒนาการสานมวยให้ดียิ่งขึ้น
8. ส่งผลให้นักเรียนเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่หาง่ายราคาถูกซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น
ขายราคา
1. ที่แหล่งผลิตโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางชนิดอย่างดีตอกละเอียดราคาใบละ 30 บาทชนิดธรรมดาตอกหยาบราคาใบละ 19 บาท
2. จากแหล่งผลิตไปถึงผู้ซื้อโดยผ่านพ่อค้าคนกลางชนิดอย่างดีประมาณใบละ 50 บาทขึ้นไปชนิดธรรมดาประมาณใบละ 35-40 บาทขึ้นไป
ศัพท์เกี่ยวกับการสานมวย
   มวยหมายถึงเครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่มีรูปร่างลักษณะทรงกระบอกส่วนล่างจะแคบสำหรับสวมลงหม้อซึ่งบางท้องถิ่นอาจเรียกแต่ "ว่า" หวดความจริงแล้วหวดจะมีรูปร่างแตกต่างจากมวยคือ
จะเหมือนรูปกรวยแต่ส่วนล่างจะปิดไม่เป็นรูปทรงกระบอกเหมือนมวยการใช้ประโยชน์ในการนึ่งมวยจะใช้ปริมาณได้มากกว่าและแข็งแรงทนทานกว่าเพราะมีความหนาจากการสานถึง 3 ชั้น
ไม้ไผ่บ้านหมายถึงไม้ไผ่สีสุกลำต้นมีขนาดใหญ่และตรงเป็นไม้ไผ่ที่เรานำมาใช้ในการสานมวย
ตัดหมายถึงการใช้มีดหรือเลื่อยแบ่งไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆตามลายขวาง
ผ่าหมายถึงการใช้มีดที่มีความคมกดลงบนหน้าตัดไม้ไผ่จากด้านโคนไปหาปลาย
จักหมายถึงการใช้คมมีดแบ่งส่วนไม้ไผ่ออกเป็นเส้นบางๆ
เหลาหมายถึงการนำเส้นตอกที่จักแล้วมาเหลาให้ละเอียด
ตอกหมายถึงไม้เส้นบางๆที่ได้จากการจัก
ตอกยั้งหมายถึงตอกที่วางในแนวดิ่งเมื่อทำการสาน
ตอกปื้นหมายถึงตอกที่ถูกจักทางแบนขนานไปกับหลังติวไม้
ส่วยหมายถึงการเหลาตอกให้มีความกว้างเล็กลงเรื่อยๆ
มีดอีโต้หมายถึงมีดที่มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับตักไม้หรือเจียนไม้การผ่าการจักและเหลาตอก
มีดตอกหมายถึงมีดที่มีลักษณะเป็นรูปเรียวปลายแหลมด้ามมีลักษณะกลมยาวประมาณ 14 นิ้วงอไปตามข้อศอกใช้สำหรับคว้านท่อนไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วหรือใช้สำหรับการเหลาตอกนั่นเอง
หินลับมีดหมายถึงหินที่ใช้สำหรับลับมีดให้มีความคมเมื่อเวลาตัดผ่าจักและเหลาตอกจะได้ไม่ต้องออกแรงมากเกินไป
เชือกหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดตัวมวยหลังจากไป่ตอกเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อให้เส้นตอกมีความกระชับแน่น
ผ้าด้ายดิบหมายถึงผ้าที่ใช้สำหรับตัดทำขอบฝาแตะแล้วเย็บด้วยด้ายเย็บเพื่อกันตอกของฝาแตะหลุดหรือดีดตัวออกมา
ด้ายเส้นเล็กหมายถึงด้ายดิบที่ทนความร้อนของไอน้ำและจะไม่หดใช้สำหรับเย็บขอบมวยฝาแตะไม่ให้หลุดออก
เข็มเย็บหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เย็บขอบมวยทั้งขอบบนและล่างและฝาขัดแตะ
ผ้าพันนิ้วมือหมายถึงเศษผ้าหนาๆความยาวประมาณ 4 - 6 นิ้วใช้สำหรับพันนิ้วมือเวลาจักตอกและเหลาตอกเพื่อป้องกันอันตรายจากมีดและคมไม้ไผ่
การสานลายหมายถึงการสานประกบทั้งสองด้านเข้าหากันโดยให้สานตอกที่เหลือ
กระทุนเกียวนหมายถึงข้างละ 4 เส้นติดกันต่อเนื่องจากลายสองเวียนที่สานมาแล้วให้ถูกต้อง
ตอกยืนหมายถึงตอกยั้งไป่ตอกหมายถึงการสานตอกเส้นบนตอกเส้นล่างทับกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น