วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ติบข้าว








เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.       ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ  ไม่ติดมือ
2.       พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง


วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน                           2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่       4.   กรรไกร
5. มีดโต้                                  6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)  8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก                    10. เครื่องกรอด้าย


   ขั้นตอนการสานกระติบข้าว


           1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน

การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน



  2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย

 3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการ


เมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ เซนติเมตรเมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน





การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย




               4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืน” การขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก เส้นแล้วทิ้ง เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
               5. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า อัดตุ๋” ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
                6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า ตีนติบข้าว” เป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
                 7. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก                   ข้อเสนอแนะ
1. การเลือกไม่ไผ่ควรเลือกไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง ปี
2. การจักตอกต้องมีความกว้าง ความยาวเท่าๆ กัน ทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปร่างสวยงาม
3. ก่อนที่จะเหลาหรือขูดเส้นตอก ให้นำเส้นที่จักแล้วแช่น้ำประมาณ ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่มเพื่อจะได้ขูดเหลาได้ง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน
4. การสานเป็นลวดลายต่างๆ ที่น่าสนใจจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาดีขึ้น
5. สามารถประยุกต์เป็นของชำร่วยแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
6. การใช้สีย้อมไหมมาย้อมเส้นตอกจะทำให้ลวดลายสีสันสวยงามขึ้น
7. การตกแต่งฝาบนด้วยการทำคิ้วจะทำให้มีความสวยงามและคงทน

นี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเพียงหัตถกรรมพื้นบ้านธรรมดาเช่นนี้ กลับกลายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้กับชุมชน อนาคตงานจักสานจะดำเนินไปในทิศทางใด ก็ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้

         ข้อมุลเพิ่มเติม
        ในกรณีต้องการเก็บอุณหภูมิให้นานยิ่งขึ้นมีการดัดแปลงใช้กระดาษฟอยด์เสริมระหว่างชั้นตามรูป










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น